วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

สุนทรียภาพทางศิลปะการแสดง


สุนทรียศาสตร์
                สุนทรี หรือ สุนทรียะ  หมายถึง  ความงาม ความไพเราะ ความรื่นรมย์
                ศาสตร์ หมายถึง วิชาการ หรือความรู้
                สุนทรียศาสตร์  เป็นศาสตร์หรือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความงาม ความไพเราะ ความรื่นรมย์  ทั้งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ (ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และมนุษย์สร้างสรรค์(งานศิลปกรรมต่าง ๆ ทั้งในกลุ่มทัศนศิลป์ โสตศิลป์ และโสตทัศนศิลป์)
                สุนทรียภาพ เป็นความรู้สึก และการรับรู้ถึงความงาม
                สุนทรียรส เป็นคุณค่าของความงามที่สัมผัส   
ความงามที่เกิดจากธรรมชาติ
ขอบคุณภาพจาก www.vworldtravel.com

                  
                ภาษาอังกฤษ์ใช้คำว่า Aesthetics  ซึ่ง Alexander  Gottrib Baumgaten เป็นผู้บัญญัติศัพท์์คำนี้มาใช้ เพราะการสัมผัสความงาม ความไพเราะ ความรื่นรมย์ มีลักษณะเป็นการรับรู้ด้วยความรู้สึก หรือประสาทสัมผัส  ต่อมาได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่" 
ความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์มีความเป็นรูปทรง
ขนาด และสีสันตลอดจนพื้นผิวที่ต่างกัน
ขอบคุณภาพจาก www.play.kapook.com

งานศิลปะสื่อผสม เกิดจากฝีมือมนุษย์
จัดเป็นศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์
ขอบคุณภาพจาก www.ddpromote.com


            การศึกษาความงาม ความไพเราะ ความรื่นรมย์ มีลักษณะเป็นนามธรรม จึงตีความสิ่งที่เป็นนามธรรมเหล่านี้ให้ออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น เพื่อช่วยให้มองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของความงามได้ชัดเจนขึ้นตามหลักสุนทรียศาสตร์                                           

       สุนทรียศาสตร์จึงเป็นส่วนหนึ่งของวิชาปรัชญา และมองว่าเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นคุณวิทยา (อรรฆวิทยา) ต่อมนุษย์และสังคม
        ในการตัดสินความงามตามหลักสุนทรียศาสตร์ หากถามว่าใครเป็นผู้ตัดสิน คำตอบคือมนุษย์ ดังนั้นมนุษย์จึงมองต่างกัน คิดต่างกัน และด้วยความที่สุนทรียศาสตร์เป็นการศึกษา ความงามต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสรรค์ การผลิต ประสบการณ์ศิลปะ ฯลฯ ทำให้เกิดแนวคิดทฤษฎีความงามขึ้นหลายทฤษฎี และจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความงาม ทำให้เกิดแนวคิดการตัดสินความงามที่สามารถนำมาปรับใช้ในการตัดสินความงามได้อย่างเหมาะสม ๓ แนวคิด คือ
กุหลาบสีชมพูเป็นดอกไม้ที่ถูกตัดสินว่ามีรูปทรง
สีสันงามเหมาะเป็นตัวแทนความรัก
ขอบคุณภาพจาก www.oknation.net


  กลุ่มอัตนัยนิยม หรือ  “จิตพิสัยหรืออัตพิสัย” (Subjectivism) เชื่อว่า ความรู้ ความจริง ความดีงามทั้งหลายไม่มีจริง เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงเชื่อว่ากฎเกณฑ์ทางความรู้ ความจริง ความดีงามไม่มีอยู่จริงเช่นกัน แต่มนุษย์มีอยู่จริงจึงเป็นผู้ตัดสินและกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆขึ้นมาตัดสิน การนำเอาแนวคิดนี้มาใช้จึงขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้การตัดสินเป็นไปแนวทางเดียวกันโดยยึดตามเกณฑ์การตัดสินที่กำหนดไว้               
ยามราตรีเมือง Saint-Rémy-de-Provence  ในฝรั่งเศส
ขอบคุณภาพจาก www.kiitdoo.com
กลุ่มปรนัยนิยม หรือ       “วัตถุพิสัย หรือปรวิสัย” (Objectivism)  เชื่อว่าสุนทรียะธาตุมีอยู่จริงแม้ว่าเข้าถึงไม่ได้ แต่ก็มีอยู่จริง การที่เราตัดสินออกมาไม่เหมือนกันเพราะแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงความงามหรือสุนทรียะธาตุที่แท้จริงได้ การที่จะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานหรือความงามที่แท้จริงได้ต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามที่เป็นมาตรฐานนั้น(หยั่งรู้) ผู้ที่ตัดสินความงามได้ถูกต้องเหมาะสมต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ      มีความชำนาญ รู้ลึกในความงามนั้นอย่างแท้จริง จึงสามารถตัดสินความงามนั้นได้ถูกต้องเหมาะสม 

หาดบนเกาะเสม็ด ในทะเลอ่าวไทยมีความงาม
ต่างจากทะเลอันดามัน
ขอบคุณภาพจาก sametisland.blogspot.com
กลุ่มสัมพัทธ์นิยม หรือ สัมพัทธ์พิสัย” (Relativism) เชื่อเช่นเดียวกับกลุ่มปรนัยนิยม และเชื่อว่ากฎเกณฑ์การตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นควรขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นตลอดจนดินฟ้าอากาศของแต่ละพื้นที่ที่เข้ามามีอิทธิพลหรือเป็น
หาดทะเลอันดามัน เกาะภูเก็ต
ขอบคุณภาพจาก pantip.com

ปัจจัยที่เข้ามามีบทบาทต่อความงามนั้น การตัดสินไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้วิจารณ์หรือผู้ตัดสินจึงต้องวางตัวเป็นกลาง และสำนึกอยู่ในใจเสมอว่าตนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคม เกณฑ์ตัดสินจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสังคม สภาพแวดล้อมที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความงามนั้น  
               
ศิลปะ
       เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างไม่ใช่ผลงานของธรรมชาติ เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่อยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์จึงมักเกี่ยวข้องกับงานศิลปะอย่างแยกกันไม่ออก    

  เมื่อระยะเวลาเปลี่ยนแปลง การนิยามความหมายของศิลปะก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและประสบการณ์ของผู้สร้างงาน ทำให้เกิดการนิยามความหมายที่แตกต่างไปตามประสบการณ์ และยุคสมัย              มัย ตะติยะ ให้ความหมายว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประทับใจ และสะเทือนใจจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยมีเกณฑ์  ๔  อย่าง คือ

                ๑. เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยสติปัญญาปกติ
          ๒. มีความงาม ความประณีต มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อมนุษย์
                ๓. เป็นที่ยอมรับของมนุษย์ และสังคม
                ๔. ไม่เป็นพิษภัยต่อมนุษย์ และสังคม

                        ความหมายศิลปะตามแนวคิดอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี

            อาจารย์ถวัลย์  ดัชนี ได้สรุปความหมายงานศิลปะว่า ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ๖ ประการ คือ
                ๑. เป็นผลงานที่เกิดจากความคิดและสติปัญญาที่ประกอบไปด้วยความรู้ ความเข้าใจ และหลักการสร้างงานศิลปะ
                 ๒. ผลงานมีการแสดงออกที่ประกอบไปด้วยอารมณ์ที่เต็มไปด้วยความต้องการแสดงออกอย่างเต็มที่ของศิลปินผู้สร้างผลงาน
        ๓. ผลงานที่แสดงออกต้องเต็มไปด้วยจิตวิญญาณของผู้สร้างสรรค์
              ๔. ผลงานแสดงให้เห็นถึงความเป็นปัจเจกบุคคล คือมีความเป็นตัวตนของตนเองหรือผู้สร้างผลงาน
                  ๕. ผลงานมีลักษณะที่ประสานกลกลืนกันอย่างเหมาะสมและงดงาม
               ๖. มีการใช้เทคนิควิธีการแสดงออกของงานได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม

                สรุป ศิลปะ คือ ผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ โดยเกิดจากแรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และจินตนาการของผู้สร้าง จึงเป็นผลงานที่มีความงดงาม ประณีต แปลก สร้างสรรค์ เมื่อมนุษย์สัมผัสรับรู้จะให้ประโยชน์ทั้งด้านจิตใจแง่คิดทางสังคมและสติปัญญา

          การสร้างสรรค์งานศิลปะต้องอาศัยสุนทรียะวัตถุ  (Aesthetics  Objects) ทั้งที่เป็นวัตถุทางธรรมชาติ (Natural object) และวัตถุทางศิลปกรรม (Artistic  Object)   
              
การรับรู้งานศิลปะของมนุษย์แบ่งเป็น  ๓  ฐานศาสตร์  คือ             
"เดวิด" ผลงานของไมเคิลแองเจโล



๑. ฐานศาสตร์ทางการเห็น เกี่ยวข้องกับงานทัศนศิลป์  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม  เป็นต้น
                 









  



                                 การใช้เสียงอย่างเป็นระบบทำให้เกิดความไพเราะ
                                      ขอบคุณภาพยนตร์ตัวอย่างจาก movie clips

              ๒. ฐานศาสตร์ทางการได้ยินหรือโสตทัศนศิลป์ เกี่ยวข้องกับดนตรีและเสียง เป็นการใช้เสียงอย่างมีระบบ  จึงเกี่ยวเนื่องกับบทเพลงและการขับร้อง และเสียงต่างๆ ที่แสดงออกอย่างเป็นระบบ


ศิลปะการแสดงที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นระบบ

                ๓. ฐานศาสตร์ทางการเคลื่อนไหวหรือโสตทัศนศิลป์ เรื่องของการละครและการแสดงต่างๆ ที่เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ที่เกิดจากความคิดและจินตนาการทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่งดงาม

                งานศิลปะ แยกได้โดยรวมเป็น ๒ประเภท  คือ

ประเภทวิจิตรศิลป์ (Fine Arts)
        เน้นความงามมากกว่าประโยชน์ใช้สอย เป็นศิลปะบริสุทธิ์ (pure art) สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความพอใจ อาจสร้างเพื่อใช้ประโยชน์บ้าง ผลงานเน้นความประณีตละเอียด งดงาม พิสดารหรูหราเกินความจำเป็นที่จะเป็นประโยชน์ใช้สอย อาจเรียกว่างาน “ประณีตศิลป์” ประกอบด้วย 

จิตรกรรมสีน้ำมัน
ขอบคุณภาพจากartmai.wikispaces.com

งานจิตรกรรม (Painting) แสดงออกด้วยการขีดเขียน วาด และระบายสีลักษณะเป็นภาพ ๒ มิติ แม้จะแบนราบแต่สร้างสรรค์ให้เห็นความลึกหรือนูนของภาพ วัสดุที่ใช้สร้างงานอาจเป็น กระดาษ ผ้าใบ ไม้อัด  ผนังปูน สีที่ใช้ระบาย ฯลฯ แสดงออกถึงเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สร้างต้องการแสดงออก เช่น ภาพคน  ภาพสัตว์ ภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ ภาพเหตุการณ์ในสังคม เป็นต้น ผู้สร้างงานเรียกว่า “จิตรกร” (Painter)

           ประติมากรรม (Sculpture) สร้างสรรค์ได้ ๔ วิธี คือ  การปั้น การหล่อ การแกะสลัก และการประกอบรูป ผลงานอาจสร้างให้เกิดรูปทรงสามมิติ สองมิติ มีปริมาตรและน้ำหนัก ใช้พื้นที่ในอากาศนำเสนอผลงาน สามารถใช้วัสดุหลากหลายชนิดมาสร้างงาน วัสดุที่ใช้เป็นตัวกำหนดวิธีการสร้างผลงาน นำเสนอมี ๓ ลักษณะ คือ  

ภาพจาก manager.co.th


๑. ประติมากรรมนูนต่ำ (bas-relief) ลักษณะงานเป็นร่องหรือแอ่งลึกลงไปในพื้นผิววัสดุเพียงเล็กน้อย หรืออาจนูนขึ้นมาจากพื้นผิววัสดุเล็กน้อยเมื่อใช้มือสัมผัสงาน สามารถชิ้นงานได้เพียงด้านเดียว เช่น เหรียญต่างๆ  พระเครื่อง เป็นต้น 
      
ภาพจาก www.thaigoodview.com

 ๒. ประติมากรรมนูนสูง (high relief) มีลักษณะนูนขึ้นจากพื้นผิววัสดุมากกว่าประติมากรรมแบบนูนต่ำ รูปแบบเป็นสองมิติ มองด้านข้างของงานได้พอสมควรไม่สามารถมองด้านหลัง ลักษณะร่องลึกหรือความนูนเห็นได้ชัดเจน              
ภาพจาก finearts99.wordpress.com


๓. ประติมากรรมลอยตัว มองดูได้รอบ มีความเป็นสามมิติ เช่น รูปหล่อทหาร-ตำรวจอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รูปพระประธานในโบสถ์วิหาร รูปหล่ออนุสาวรีย์สามกษัตริย์                       
         ผู้สร้างงานประติมากรรมเรียกว่า    “ประติมากร”








สถาปัตยกรรม (Architecture) การออกแบบโครงสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ โดยคำนึงถึงความสะดวก ความมั่นคงแข็งแรง ความสวยงามและความเหมาะสมสำหรับใช้สอย จึงมีรูปแบบและโครงสร้างที่ใช้พื้นที่ในการนำเสนองาน  มี ๒ ลักษณะ คือ  
               
      
ภาพจาก www.homedec.in.th

๑.สถาปัตยกรรมเปิดที่เป็นอาคารสถานที่เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยของมนุษย์ หรือสถานที่ที่มนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในสังคม เช่น อาคารที่อยู่อาศัย โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ  
         
                  
                วิหารนักบุญ บาซิล ประเทศรัสเซีย
                 ภาพจาก webboard.edtguide.com
                                                                             

พระมหาเจดีย์ชเวดากอง
ภาพจาก www.chulamani.com  
๒. สถาปัตยกรรมปิด สร้างขึ้นเป็นประโยชน์ใช้สอยของมนุษย์และสังคม เช่น  เจดีย์ สะพาน ซุ้มประตู  กำแพงเมือง ฯล

ผู้สร้างผลงานเรียกว่า “สถาปนิก”   
      
        




วรรณกรรมร้อยแก้ว
ภาพจาก thai.cri.cn


วรรณกรรม (Literature) แสดงออกด้วยการใช้ภาษามาร้อยเรียงเป็นภาษาเขียน ใช้คำที่ไพเราะมีความหมายให้สัมผัสคล้องจอง หรือให้มีลักษณะความเรียงที่สละสลวย มี ๒ ลักษณะ คือ วรรณกรรมร้อยกรอง และวรรณกรรมร้อยแก้ว 
                ผู้สร้างผลงานเรียกว่า “นักเขียน” “ นักประพันธ์” หรือ “กวีนิพนธ์”


            
        ดุริยางคศิลป์ หรือดนตรี (Musical Arts) สร้างสรรค์เสียงต่างๆ ไม่ว่าเสียงมนุษย์ สัตว์  หรือเสียงจากธรรมชาติให้เกิดเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะเรียกว่า บทเพลง” ประกอบด้วย เสียง(Tone) คือ เสียงจากเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ เสียงมนุษย์  เวลา/จังหวะ(Time and Rhythm) เป็นระยะความถี่ห่างของเสียงที่ทำให้เกิดเป็นจังหวะช้า ปานกลาง และเร็วกระชับ ท่วงทำนอง (Melody) เป็นเสียงที่มีระดับเสียงที่ต่างกัน เช่น สูง ปานกลาง ต่ำ  เสียงประสานหรือพื้นผิว (Harmony and Texture) เป็นเสียงที่ต่างระดับกันแต่สอดประสานกันอย่างเหมาะสม และสีสัน (Tone Color) เป็นเสียงที่โดยรวมทำให้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น อารมณ์รื่นเริง อารมณ์รัก อารมณ์เศร้า ฯล
            ผู้สร้างงานเพลง และดนตรี  เรียกว่า “นักประพันธ์เพลง” หรือ “คีตกวี” ผู้นำเสนอผลงานของผู้สร้างคือ “นักดนตรี” และ “นักร้อง

       
ภาพจาก www.teawtourthai.com
นาฏศิลป์ การละคร การเต้นรำ ภาพยนตร์(Performing Arts) เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายมนุษย์ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แสดงให้เห็นถึงความงดงามของกิริยาอาการที่เคลื่อนไหว สื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวหรือการแสดง          แสดงออก ๒ ลักษณะ คือ ศิลปะการแสดงที่ไม่เป็นเรื่องราว และศิลปะการแสดงที่เป็น
เรื่องราว  
          
 ภาพพิมพ์หิน
ภาพจาก  
th.wikipedia.org

         ปัจจุบันงานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ได้นำเอาผลงานประเภทภาพพิมพ์ เทคนิคสื่อผสม และการถ่ายภาพมารวมไว้ในประเภทวิจิตรศิลป์
ศิลปะการถ่ายภาพ
ภาพจาก album.sanook.com



ประเภทประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts)
                คือผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายให้เห็นความงดงามในแง่วิจิตรศิลป์ขณะเดียวกันมุ่งสนองตอบความต้องการทางด้านประโยชน์ใช้สอยและจิตใจของมนุษย์ควบคู่กันไป งานประเภทประยุกต์ศิลป์ปรากฏขึ้นในสังคมยุคปัจจุบันมากและเกี่ยวข้องผูกพันอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมตลอดเวลา การนำเอางานประยุกต์ศิลป์เข้ามาเกี่ยวข้องกับตนเองของคนในสังคมขึ้นอยู่กับความพึงพอใจและการเลือกของมนุษย์เองว่ามีความพึงพอใจในงานชิ้นนั้นอย่างไร เห็นคุณประโยชน์ที่จะได้รับมากน้อยอย่างไร ตัวอย่างงานศิลปะประเภทนี้ ได้แก่    
ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์
ภาพจาก sanya-indy.com
 พาณิชยศิลป์ (Commercial Art) เป็นงานออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการสื่อสาร เช่น   การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ฉลากสินค้า ตราประจำสินค้า  ภาพโฆษณา      ภาพโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ ปกหนังสือ ปกซีดีเพลง การตกแต่งร้านค้า และโชว์รูมต่างๆ เป็นต้น
 

         
       
ออกแบบภายในอาคาร
ภาพจาก narongchat.exteen.com 
มัณฑนศิลป์
(Decorative Art) ออกแบบตกแต่งภายในและภายนอกอาคารสถานที่ เพื่อให้เกิดความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย มัณฑนศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรมที่ช่วยเสริมให้สถานที่ต่างๆ มีความงามน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น เช่น ห้องนอน การตกแต่งสวนหย่อม ตกแต่งห้องนั่งเล่น  ห้องครัว ห้องรับแขก เป็นต้น
 

เครื่องเสียงผลิตออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม
ภาพจาก www.thaigoodview.com
อุตสาหกรรมศิลป์
(Industrial Art) ผลงานผลิตขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสังคม โดยอาศัยระบบโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องจักรเป็นแกนหลักสำคัญในการผลิต ชิ้นงานจึงผลิตออกมามีจำนวนมากใช้เวลาในการผลิตระยะสั้น มีรูปทรง ขนาด สีสัน และประโยชน์ใช้สอยที่เหมือนกันเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของสังคม โดยอาศัยกลุ่มงานพาณิชยศิลป์ออกแบบลักษณะผลิตภัณฑ์ต่างๆ (product design) ที่อาศัยการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น พัดลม ตู้เย็น เครื่องไฟฟ้าหรือของเล่นของใช้พลาสติกต่างๆ ฯลฯ 
                                   
เครื่องจักสานไทย
ภาพจาก www.laksanathai.com

หัตถกรรม (Handicraft) หัตถศิลป์ (Manual Art) หรือ งานช่างฝีมือ (Craft)  ผลงานสร้างสรรค์จากฝีมือมนุษย์จึงใช้เวลาในการสร้างผลงาน ทำให้ได้จำนวนผลงานน้อยชิ้น งานเหล่านี้มักพบในท้องถิ่นพื้นบ้าน ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้สอยหรือใช้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณีหรือประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือเป็นเครื่องใช้ของใช้ในวิถีชีวิตชาวบ้าน  เช่น เครื่องปั้นดินเผา สังคโลก เครื่องทอง ผ้าทอ  งานประดิษฐ์ต่างๆ เป็นต้น
              งานศิลปะประเภทประยุกต์ศิลป์พบเห็นได้ทั่วไป เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมในชีวิตประจำวันตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นงานศิลปะที่ถือว่าอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะ
      อัมพร ศิลปะเมธากุล กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลร่วมต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะว่าประกอบด้วย  
             
หมู่บ้านมรดกโลกชิราคาวาโกะ
      
๑. ปัจจัยที่เกิดจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ เช่น ลักษณะการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในแต่ละภูมิภาคที่มีอากาศต่างกัน ทำให้การสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ซึ่งเป็นอิทธิพลที่ได้จากสิ่งแวดล้อมภูมิอากาศ เป็นต้น   
          
มัสยิดมูการ์ร่ม
ภาพจาก www.cherngtalay.go.th  
๒. ปัจจัยที่เกิดจากอิทธิพลทางศาสนา และความเชื่อ พบว่าอิทธิพลทางศาสนาและความเชื่อของมนุษย์ทำให้เกิดงานศิลปะแต่ละสาขาได้มากมาย  เช่น การสร้างโบสถ์  วิหาร อาคารที่เกี่ยวข้องกับศาสนาต่างๆ ในงานสถาปัตยกรรม เรื่องราวชาดก และวรรณกรรมต่าง ๆ เป็นต้น   
        
การประหารชีวิตพระนางมารอองตัวเนตด้วยกิโยติน
ภาพจาก deversailles.blogspot.com
๓. ปัจจัยที่เกิดจากอิทธิพลทางการเมือง และการปกครอง เป็นอิทธิพลที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะนิยมสะท้อนออกมากับผลงานของตนเพื่อต้องการใช้ศิลปะเป็นสื่อบอกเล่าเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ตนเองพบเห็น ในแต่ละยุคสมัย ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ภาพจิตรกรรมการประหารชีวิตพระนางมารีอังตัวเนตแห่งฝรั่งเศส เป็นต้น  
             
การแต่งกายสตรีไทยไว้ผมปีกมหาดไทย ช่วง ร.๔-๕
ภาพจาก www.thaitopwedding.com
๔. ปัจจัยที่เกิดจากอิทธิพลทางประเพณีและวัฒนธรรม เช่นเดียวกับอิทธิพลทางศาสนาความเชื่อ การเมืองการปกครอง อิทธิพลทางประเพณีและวัฒนธรรมจัดเป็นอิทธิพลทางสังคมอย่างหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะมักสอดแทรก หรือแสดงออกมากับผลงานการสร้างสรรค์ของตนเอง เช่น ภาพจิตรกรรมแสดงให้เห็นประเพณีของท้องถิ่นของชนเผ่าต่าง ๆ ภาพการแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ ภาพแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์ เอกลักษณ์การแต่งกายของประชาชนในแต่ละประเทศ เป็นต้น    
           
สระบัวมีจินตนาการของผู้สร้างผสมจึงงามเกินธรรมชาติ
ภาพจาก www.puiock-gallery.com
๕. ปัจจัยที่เกิดจากอิทธิพลทางความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เป็นปัจจัยที่เกิดจากความรู้ประสบการณ์ของศิลปินผู้สร้างงานที่นำเอาวัตถุทางธรรมชาติ และวัตถุทางศิลปกรรม แล้วนำเสนอผลงานของตนเองโดยใช้สติปัญญา การคิดสร้างสรรค์ จินตนาการเข้าร่วมเพื่อให้ผลงานนั้นมีความงาม ความแปลกตา และความน่าทึ่ง ตามหลักความงามของสุนทรียภาพ
 ความสัมพันธ์งานศิลปะ

งานนิเทศศิลป์ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์งานศิลปะ
ทำให้เกิดชิ้นงานที่น่าสนใจ และประทับใจ

                งานศิลปะทุกแขนงล้วนเอื้ออำนวยประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งทำให้ผู้สัมผัสงานเกิดความเข้าใจในงานมากยิ่งขึ้น เช่น การฟังดนตรีโดยมี นาฏศิลป์ วรรณกรรม จิตรกรรม ประกอบกันจะช่วยให้เข้าใจในศิลปะนั้น เมื่อชมการแสดงโดยมีดนตรี มีการสร้างสรรค์เทคนิคแสง สี ฉากประกอบการแสดง  ก็ทำให้ผู้ชมเกิดซาบซึ้งคล้อยตามในการแสดง ปัจจุบันพบว่าการสร้างงานศิลปะทั้งประเภทวิจิตรศิลป์และประเภทประยุกต์ศิลป์อาจมีลักษณะเป็นงานร่วมกันหลายสาขา แล้วสร้างออกมาเป็นงานศิลปะ ๑ ชิ้น เช่นสื่อโฆษณา         (งานนิเทศศิลป์) เมื่อนำเสนอออกมาทำให้เกิดความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ต้องการประชาสัมพันธ์มากขึ้น และได้รับความสนใจจากผู้บริโภค และสังคมมากขึ้น

 คุณค่าของงานศิลปะ
               อัมพร ศิลปะเมธากุล แบ่งคุณค่างานศิลปะออกเป็น ๔ ด้าน คือ


ระบำนกยูงจีนยูนาน มีความงดงามในการเคลื่อนไหว
และการสื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจ ประทับใจ ผ่อนคลาย

             ๑. คุณค่าด้านสุนทรียะ (Aesthetical Value) เป็นคุณค่าด้านอารมณ์ ความรู้สึก เป็นสิ่งที่เห็นพ้องกับผู้ชื่นชมศิลปะคนอื่น มีการยอมรับในกลุ่ม แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสังคมแต่ละสังคม เช่นในสังคมพื้นบ้านภาคอีสานแต่เดิมผู้คนในท้องถิ่นนิยมฟังหมอลำเพื่อความบันเทิงในปัจจุบันรสนิยมการฟังหมอลำเปลี่ยนแปลงไปมีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเข้ามาบรรเลงร่วมมีจังหวะเร็วครึกครื้นสนุกสนานจึงเรียกใหม่ว่าหมอลำประยุกต์ 



ภาพยนตร์สั้นที่ให้แง่คิดคุณค่าแก่สังคม เป็นหนึ่งในหนังสั้นเพื่อสังคม
ของกลุ่มบริษัท true

            ๒. คุณค่าทางด้านคุณธรรมจริยธรรม (Ethical Value) เป็นคุณค่าที่เกิดจากการประเมินและการส่งเสริมจากคนในสังคม มักเป็นศิลปะที่มุ่งส่งเสริมให้บุคคลกระทำดี ถูกต้องตามกฎกติกาของสังคม โดยนำเอางานศิลปะมาเป็นเครื่องมือสื่อให้คนในสังคมมองเห็นคุณและโทษของสิ่งต่าง ๆ หรือบอกเล่าสิ่งที่เป็นคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามให้คนในสังคมรับรู้ได้ เช่น การชมเรื่องราวการแสดงต่าง ๆ เมื่อจบการแสดงผู้ชมมักเกิดความเข้าใจและได้รับสิ่งที่เป็นแง่คิดต่าง ๆ จากการแสดงสามารถนำเอาแนวคิดที่ได้รับมาปรับใช้กับตนเองและสังคมได้


การแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ของไทย 

                ๓. คุณค่าทางด้านประเพณี และวัฒนธรรม (Cultural Value) เป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม หรือสังคมหนึ่งๆ คุณค่าด้านนี้มักมีการสร้างสมมาเป็นเวลานาน มีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละสังคม  ขณะเดียวกันก็สร้างความภูมิใจ ความเป็นอิสระ ความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะหรือ     สังคมนั้นๆ  เช่นศิลปะการแสดงประจำชาติ การแต่งกายตามขนบประเพณีของท้องถิ่นท้องถิ่น     
       
ภาพจาก pr.prd.go.th
 ๔. คุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Value) เป็นผลงานที่มีการสร้างสรรค์และมีความเป็นเอกลักษณ์ของสังคมหรือชุมชน อาจมีการสืบทอดงานต่อกันมาในชุมชนเป็นเวลานาน หรืออาจมีการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ แต่สร้างสรรค์กันในเฉพาะชุมชนนั้น  เช่น งานเครื่องทอง เครื่องเขิน งานฝีมือต่างๆ ที่เกิดในชุมชนหรือสังคมนั้น มักได้รับการยอมรับและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจต่อสังคมและชุมชนที่เป็นเจ้าของผลงาน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลคุณค่าด้านเศรษฐกิจต่อชุมชน สังคม ประเทศตามลำดับ ทำให้เกิดผลดีด้านการท่องเที่ยว ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นต่างๆ

               ศิลปะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกาย เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็น เข้าใจ และเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจเป็นงานศิลปะที่ให้คุณค่าในการพัฒนามนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การนำศิลปะไปใช้ในการดำรงชีวิต ไปใช้พัฒนาทางด้านจิตใจจำเป็นต้องศึกษาลักษณะผลงานของงานศิลปะ และเลือกสรรผลงานที่มีคุณค่าทางสุนทรียะจะทำให้ผู้ที่บริโภคผลงานศิลปะได้รับคุณค่าอย่างแท้จริง ความรู้ ความรัก ประสบการณ์ เป็นพื้นฐานในการเข้าใจงานศิลปะ ถ้ามนุษย์เปิดโอกาสในการเรียนรู้ผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ให้มากขึ้น จะทำให้ศิลปะมีคุณค่า มีการพัฒนา และดำรงคงอยู่กับมวลมนุษย์เพื่อสร้างสรรค์ความสุข ความสวยงามให้กับโลกมนุษย์ต่อไป 

ศิลปะการแสดง

                    ศิลปะการแสดง เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว การแสดงอารมณ์อย่างเป็นระบบ มีความงดงามของร่างกายและการเคลื่อนไหว ตลอดจนอารมณ์ที่ผู้แสดงสื่อออกมา ทำให้ผู้ชมเข้าใจและรู้สึกคล้อยตาม
                การศึกษาศิลปะการแสดงเพื่อให้เกิดความเข้าใจรูปแบบการแสดง รูปแบบการนำเสนอว่ามีการนำเสนออย่างไร มีองค์รวมพื้นฐานในการนำเสนออย่างไร การแสดงแบ่งออกได้กี่ประเภท   ซึ่งการเรียนรู้ขอบข่ายที่เป็นพื้นฐานจะช่วยให้เกิดความเข้าในการชมการแสดงมากยิ่งขึ้น เมื่อชมการแสดงได้เข้าใจนอกจากได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการแสดงแล้ว ยังเกิดความเข้าใจในสิ่งที่การแสดงนำเสนอซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่การแสดงนำเสนอในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นและเป็นแนวทางให้ผู้ชมนำไปปรับใช้กับตนเองและสังคมได้

            องค์รวมพื้นฐานในการแสดงออกหรือการเคลื่อนไหวที่สำคัญ       ๔ อย่างในการแสดง คือ

                ๑. ต้องมีจังหวะ/เวลาในการแสดงออก เวลาในที่นี้หมายรวมถึง ระยะเวลาในการนำเสนอการแสดงของการแสดงโดยรวมทั้งหมดที่ปรากฏบนเวที ตลอดจนจังหวะเวลาที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายของนักแสดง จังหวะเวลาในการเจรจาโต้ตอบกันของตัวละคร จังหวะเวลาในการแสดงออกของอารมณ์ตัวละครอย่างเหมาะสม และจังหวะเวลาในการเคลื่อนไหวบนเวที ซึ่งจังหวะเวลาต่างๆ เหล่านี้เมื่อแสดงออกได้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ภาพบนเวทีมีความงดงามเป็นเอกภาพได้ดียิ่งขึ้น

                ๒. มีการใช้พื้นที่บนเวทีหรือสถานที่ที่แสดงได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน ภาพบนเวทีไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก จุดตำแหน่งของฉากและผู้แสดง ตลอดจนจำนวนผู้แสดงในแต่ละฉากที่ปรากฏออกมาต้องมีความสมดุล เหมาะสมกับพื้นที่หรือขนาดบนเวทีที่แสดงขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวของนักแสดงบนเวทีต้องมีการใช้พื้นที่บนเวทีร่วมด้วย ไม่ควรอยู่จุดใดจุดหนึ่งอย่างถาวร การเคลื่อนไหวไปมาบนเวทีอย่างเหมาะสมจึงเป็นการใช้พื้นที่บนเวทีของนักแสดงด้วยเช่นกัน

                ๓. รูปแบบการแสดงออกที่เป็นท่าทางการเคลื่อนไหวของผู้แสดงบนเวที ท่าทางการเคลื่อนไหวของนักแสดงสามารถสื่อสารให้เกิดความเข้าใจระหว่างนักแสดงกับผู้ชมได้ ดังนั้นการเคลื่อนไหวจึงเป็นองค์รวมในการแสดงออกของผู้แสดง ที่สำคัญยิ่งผู้แสดงต้องเคลื่อนไหวบนเวทีร่วมกับการแสดงออกส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อสร้างให้เกิดรูปทรงที่งดงามในแง่ศิลปะการแสดง ขณะเดียวกันก็สามารถสื่อท่าทางการเคลื่อนไหวให้ผู้ชมเข้าใจในการแสดงออกของผู้แสดงไปพร้อมกัน

               ๔. องค์รวมที่สำคัญในการแสดงออกทางศิลปะการแสดงอีกข้อหนึ่งคือ ผู้แสดงที่ดีเมื่อแสดงออกในศิลปะการแสดงแล้วต้องสามารถทำให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในศิลปะการแสดง เกิดความประทับใจ คล้อยตามไปกับการแสดงออกของตัวละคร เรื่องราวพฤติกรรมตัวละคร จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ชมกับนักแสดงช่วยให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวหรือการแสดงออกของนักแสดงได้อย่างแท้จริง เมื่อนักแสดงกับผู้ชมมีความสัมพันธ์ที่ดีและสื่อสารเข้าใจกันได้ ประโยชน์จากการชมการแสดงของผู้ชมจะมีมากขึ้น


ระบำมยุราภิรมย์ (นกยูงไทย)

              นอกจากองค์รวมของการแสดงดังกล่าวศิลปะการแสดงยังต้องอาศัยวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไปตามรูปแบบพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยอย่างไร วิธีการนำเสนอไม่ว่าในรูปแบบใด สิ่งที่พบเห็นโดยทั่วไปคือ ความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของการแสดงออก โดยส่วนใหญ่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของลักษณะการเคลื่อนไหวไว้ โดยทั่วไปการแสดงออกของศิลปะการแสดงนิยมแสดงออก 
๒ ลักษณะ คือ


การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ชุด พระพิฆเณศเสียงา
การแสดงแบบดั้งเดิมของไทย

          ๑. การแสดงลักษณะดั้งเดิม (Classic dance)เป็นศิลปะการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงไม่ว่าจะเป็นลีลาการเคลื่อนไหว การแต่งกาย การแต่งหน้า ดนตรีประกอบการแสดง ตลอดจนเรื่องราวในการนำเสนอ และสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ของชาติ



การแสดงร่วมสมัย ชุดเอิ้นสาว
ผลงาน นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

  ๒. การแสดงร่วมสมัย ( Contemporary dance) เป็นศิลปะการแสดงที่ถูกพัฒนาตามยุคสมัย ดังนั้นการแสดงออกต่างๆ ตลอดจนองค์ประกอบการแสดง เช่น การขับร้อง ดนตรี ลีลาการเคลื่อนไหว การแต่งกาย อาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับรูปแบบการนำเสนอ ทั้งนี้ยังคงพบเห็นความเป็นเอกลักษณ์ของการแสดงในรูปแบบดั้งเดิมร่วมอยู่ด้วย

มูลเหตุการเกิดศิลปะการแสดง

                ศิลปะการแสดง เป็นศิลปะที่เกิดขึ้น และอยู่คู่กับมนุษย์ในสังคมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานและได้ถูกพัฒนามาโดยตลอดตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง สาเหตุของการเกิดศิลปะการแสดงขึ้นมานั้นสันนิษฐานว่ามีมูลเหตุที่เกิด คือ
                . เกิดจากธรรมชาติ มนุษย์มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถ เช่น แขน ขา เอว หน้าตา จากการเคลื่อนไหวนี้เองเป็นมูลฐานแห่งการฟ้อนรำ หรือการที่มนุษย์แสดงอารมณ์ออกมาตามความรู้สึกในใจเป็นท่าทางกิริยาอาการต่างๆ  เช่น โกรธ รัก โศกเศร้า เสียใจ มนุษย์ได้นำมาดัดแปลงให้มีความงดงามในการแสดงออกการเคลื่อนไหวจนพัฒนาเป็นการเคลื่อนไหวหรือท่าทางการร่ายรำในเวลาต่อมา
                . เกิดจากการบวงสรวงเทพเจ้า แต่โบราณมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาไม่มีสิ่งใดยึดเป็นที่พึ่งทางใจ หรือมีเครื่องเคารพสักการะเหมือนปัจจุบัน เทพเจ้า หรือพระผู้เป็นเจ้าจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสมมติเช่น ญี่ปุ่นนับถือพระอาทิตย์เป็นการบูชาความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่ให้ความร้อนและแสงสว่าง อินเดียบูชารูปเคารพซึ่งแต่งตั้งเป็นเทพเจ้าต่างๆ  ไทยเชื่อถือภูตผี เทพารักษ์ เจ้าป่า เจ้าเขา รูปเคารพต่างๆ จากนั้นก็มีการบวงสรวงบูชาด้วยอาหาร ด้วยการร่ายรำ กระโดดโลดเต้นตามจังหวะ เกิดเป็นแบบแผนวัฒนธรรมของแต่ละชาติ ับได้ว่าล้วนเป็นนาฏศิลป์พื้นฐานที่เกิดขึ้น
                ๓. เกิดจากอารมณ์สะเทือนใจ หรือความประทับใจของมนุษย์ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม มนุษย์เมื่ออยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคม ความเป็นไปในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่เป็นเรื่องราวในชีวิตจริงของมนุษย์และสังคม เมื่อพบเจอเหตุการณ์ต่างๆ อาจก่อให้เกิดเป็นความรู้สึกชื่นชม  ประทับใจ  ซาบซึ้งในเรื่องราว  เหตุการณ์ที่เกิด จึงเกิดแนวคิดที่นำเอาสิ่งที่พบเจอมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงเพื่อให้เหตุการณ์เรื่องราวที่พบเห็นเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขัดเกลาความคิด พฤติกรรมของคนในสังคมให้อยู่ในกรอบความเชื่อ ค่านิยม ขนบประเพณี วัฒนธรรมของสังคมที่เหมาะสมได้โดยอาศัยศิลปะการแสดงเป็นเครื่องชี้นำ หรือขัดเกลา

บุคลากรงานศิลปะการแสดง
                ในการสร้างงานศิลปะการแสดงเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์งดงามจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแสดงทุกฝ่าย ทุกตำแหน่งหน้าที่ร่วมกันสร้างสรรค์งานการแสดงขึ้นมา บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแสดงไม่ว่าหน้าที่ หรือตำแหน่งใดจึงมีความสำคัญต่องานศิลปะการแสดงเป็นอย่างยิ่ง บทบาทในการสร้างงานด้านการแสดงแม้จะต่างกัน ขณะเดียวกันต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไปด้วย จะขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ ตำแหน่งที่ควรรู้จักได้แก่

                 ๑. ส่วนอำนวยการ 
                   เป็นกลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการเริ่มต้น และวางแผน สร้างระบบงาน ควบคุม การดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในการริเริ่มสร้างสรรค์ให้การแสดงเกิดขึ้น ประกอบด้วย
                ผู้อำนวยการ เป็นประธานของคณะบุคคล มีหน้าที่ กำหนดนโยบาย ทิศทางการแสดงที่จะผลิต จัดหา คัดเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน ตำแหน่งน้าที่ ความรับผิดชอบ แก้ไขอุปสรรคต่างๆ ในการทำงาน
             เจ้าหน้าที่ฝ่ายอำนวยการ ทำหน้าที่ประสานงาน บริหารงาน จัดประชุม แก้ไขข้อขัดแย้งในงาน ทำแผนงาน งบประมาณ ติดตามผล และรายงานความคืบหน้าของโครงการ การเงิน ปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานเพื่อให้ผู้ร่วมงานทุกฝ่ายรับทราบ

                ๒. ส่วนสนับสนุนการแสดง 
                   เป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่คอยสนับสนุน และวางแผนให้การสร้างสรรค์งานการแสดงดำเนินไป ประกอบด้วย
               ฝ่ายหารายได้ วางแผน จัดหารายได้ จากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากการบริจาค การอุปถัมภ์รายการ การจำหน่ายบัตร การกระตุ้นการขาย ฯลฯ
     ฝ่ายประชาสัมพันธ์ วางแผนงานการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ ให้คนในสังคมรับรู้และสนใจ
            ฝ่ายสวัสดิการ ดำเนินการอำนวยความสะดวกด้านสวัสดิการให้ฝ่ายต่างๆ ที่ร่วมงานกัน  เช่น จัดอาหาร เจ้าหน้าที่รับส่ง ฝ่ายอนามัย ฝ่ายอาคารสถานที่ต่าง ๆ

            ๓. ส่วนการแสดง 
               แบ่งออกเป็น ๕ ฝ่ายที่สำคัญ ดังนี้
          ๓.๑ ฝ่ายการแสดง มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแสดงโดยตรง ตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญมี ๔ ตำแหน่ง คือ
                   ผู้กำกับการแสดง ทำหน้าที่ กำหนดทิศทางรูปแบบการแสดง คัดเลือกบทละคร คัดเลือกผู้แสดง  คัดเลือกผู้ร่วมงาน   กำหนดการฝึกหัด ฝึกซ้อม  แก้ปัญหาด้านการแสดง  กำกับให้ผู้แสดงแสดงให้ได้อรรถรสตามวัตถุประสงค์ และ แนวทางที่กำหนดไว้
                  ผู้กำกับเวที มีความสำคัญต่อผู้กำกับการแสดงในระหว่างฝึกซ้อม ช่วยเหลือ จดบันทึกการเปลี่ยนแปลง และรายละเอียด ต่าง ๆ ในการฝึกซ้อมการแสดง ประสานงานกับลูกทีมบนเวทีที่รับผิดชอบงานทุกด้าน  กำหนด จัดคิวการแสดงให้นักแสดงในการเข้าฉาก ตรวจตราความเรียบร้อยทั้งในระหว่างฝึกซ้อม และแสดงจริง 
                 ผู้เขียนบท ทำหน้าที่สร้างบทละคร (Script) ถ่ายทอดเรื่องราว ผ่านคำพูด และท่าทาง การแสดงออกของตัวละคร จึงมีจินตนาการกว้างไกล มีทักษะในการฟังการสังเกต มีพรสวรรค์ในการเล่าเรื่องที่ดี อาจทำงานเดี่ยว หรือทำงานร่วมกับผู้เขียนบทคนอื่นๆ 
                           ผู้แสดง ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ สู่ผู้ชม ต้องศึกษาบทละครให้เข้าใจในเรื่องราว บทบาทบุคลิกภาพ และพฤติกรรมของตัวละคร ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในเรื่อง จำบทได้แม่นยำ มีความตั้งใจในการฝึกซ้อมและแสดง ตรงต่อเวลา
             ๓.๒ ฝ่ายฉาก ออกแบบฉาก อุปกรณ์ประกอบฉากที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบผู้แสดงบนเวทีให้เหมาะสม โดยศึกษาบทละครออกแบบฉาก เสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ และบรรยากาศของเหตุการณ์ 
              ๓.๓ ฝ่ายเครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องแต่งกาย สร้างเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ โดยศึกษาเรื่องราวเหตุการณ์ บุคลิกลักษณะ อุปนิสัย เพศ สถานภาพ อายุ  ยุคสมัยของเรื่องราว ของตัวละคร เพื่อให้การแสดงมีความสมบูรณ์มากขึ้น ช่วยเสริมอารมณ์และรูปแบบผลงานให้สมจริง จำแนกความแตกต่างระหว่างตัวเอกกับตัวรอง  ชี้แนะความสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร  เปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวละคร  เปลี่ยนพัฒนาการ และอายุของตัวละคร
             ๓.๔ ฝ่ายเทคนิค ออกแบบแสง สี เสียง บนเวที ช่วยสร้างอารมณ์ สีสัน บรรยากาศบนเวทีให้สมจริงมากขึ้น ต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับฉาก สถานที่ เหตุการณ์ในเรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาที่ปรากฏในเรื่อง และช่วงเวลาในการเปลี่ยนฉากแต่ละฉาก ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ของตัวละคร ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการในการดำเนินเรื่อง ข้อมูลเกี่ยวกับอารมณ์ของตัวละครและอารมณ์ของฉากแต่ละฉาก เพื่อให้งานเสริมการแสดงให้สมจริงเหมาะสมและสมบูรณ์มากขึ้น
                ๓.๕ ฝ่ายดนตรี ประกอบด้วย หัวหน้าวง ผู้จัดการวง นักดนตรี นักแต่งเพลง ดนตรีช่วยเสริมให้การแสดงมีความสมบูรณ์ สร้างอารมณ์ให้ผู้ชมคล้อยตามไปกับเรื่องราว บรรยากาศ เหตุการณ์ในการแสดง ดนตรีจึงมีบทบาทสำคัญต่อการนำเสนอการแสดง และทำให้การแสดงสมบูรณ์ เช่นเดียวกับฝ่ายฉาก เครื่องแต่งกาย เทคนิคแสงสี
                    บุคลากรดังกล่าวเป็นเพียงตำแหน่งหน้าที่ที่กล่าวถึงโดยสังเขปเพื่อให้เข้าใจ ในความเป็นจริงการดำเนินงานอาจมีบุคลากรในตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานด้านการแสดงมีความพร้อมและบรรลุจุดประสงค์ในการนำเสนอได้เร็ว และสมบูรณ์มากขึ้นได้

ประเภทของศิลปะการแสดง
                ศิลปะการแสดงจัดเป็นศาสตร์แห่งความเคลื่อนไหว   มนุษย์ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวให้เกิดอิริยาบถต่างๆ การเคลื่อนไหวเหล่านั้นสื่อความหมายในเชิงความรู้สึก และอารมณ์ ซึ่งหัวใจสำคัญที่เป็นพื้นฐานคือการใช้พลัง (Energy) และการใช้ที่ว่าง (Space) ผสมผสานกันอย่างต่อเนื่องเป็นรูปแบบของนาฏศิลป์ขึ้นมา การเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันเป็นการสะท้อนอารมณ์ที่แตกต่างกันเพื่อความหลากรส เช่น อารมณ์เศร้าใช้ผู้แสดงเดี่ยวอยู่นิ่งกับที่ อารมณ์ทุกข์ทรมานใช้ผู้แสดงหมู่เคลื่อนไหวไปมาช้าๆ และอารมณ์รักแสดงโดยชายหญิงคู่หนึ่งเคลื่อนไหวโลดแล่นไปมาอย่างร่าเริง เป็นต้น
                ความงดงามของศิลปะ เป็นเรื่องของจิตใจในการยอมรับและชื่นชม ผู้ชมจะชื่นชมยินดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจนาฏศิลป์ว่ามีมากน้อยเพียงใด หากเป็นการแสดงที่มีคุณภาพคนดูย่อมเข้าใจและพึงพอใจเกิดความนิยมยินดี นาฏศิลป์แม้จะเป็นศิลปะสร้างสรรค์ที่ต้องการความแปลกความใหม่ แต่ก็ยังต้องอาศัยปัจจัยของนาฏยะจารีตจากอดีตเป็นฐาน วัตถุดิบ ความคิด วิธีการ การศึกษาเรียนรู้ตัวอย่างจากอดีตย่อมช่วยให้เกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์ที่กว้างไกล
           คนดูนาฏศิลป์จะฟังดนตรีไปพร้อมกัน และสามารถสังเกตได้ว่าผู้แสดงเคลื่อนไหวด้วยเสียงอะไรเป็นหลัก แม้ว่าเพลงที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์จะมีเสียงดนตรีผสมผสานกันหลากหลาย แต่คนดูก็สามารถสังเกตได้ชัดเจนว่าเสียงเครื่องดนตรีเป็นหลักในการขยับขับเคลื่อนร่างกาย เช่น เสียงแตรทองเหลือง เสียงขลุ่ยเป็นต้น เนื่องจากเสียงเหล่านี้บ่งบอกถึงลักษณะเด่นซึ่งมีผลผูกพันกับนาฏยลักษณ์ที่กำลังแสดงอยู่นั่นเองศิลปะการแสดงจึงแบ่งการแสดงออกเป็น ๒ ประเภท คือ



ระบำสุโขทัย เป็นหนึ่งในระบำโบราณคดี ๕ ชุด
สร้างจากแนวคิด ความเจริญรุ่งเรืองของไทย
ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
              
         ๑. การแสดงที่ไม่เป็นเรื่องราว เป็นการแสดงชุดสั้นๆ อาจใช้ผู้แสดงจำนวนน้อยหนึ่งคน สองคน จนถึงผู้แสดงจำนวนมากได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเวทีที่แสดง เป็นการแสดงที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย อาจมีความหมายของการแสดงหรือไม่มีก็ได้ เน้นความงดงามของท่าทาง ความพร้อมเพรียงของการเคลื่อนไหว และการแปรแถว เช่น ระบำ รำ  เต้น ฟ้อน เซิ้ง  และระบำพื้นเมืองภาคต่างๆ   
          

ละครเวที เรื่อง ริษยา พยาบาท ฆาตกรรม
ผลงานละคร ค่าย แด๊ซ

          ๒. การแสดงที่เป็นเรื่องราว อาจเป็นการแสดงเรื่องราวสั้นๆ หรือเรื่องยาวก็ได้ มีความซับซ้อนขององค์ประกอบการแสดงทางด้านศิลปะการแสดง ได้แก่ โขน ละครรำ หุ่น หนัง และ ภาพยนตร์ ละครเวที ฯลฯ
                
ความสำคัญของศิลปะการแสดง
                ศิลปะการแสดงไม่ว่าจะนำเสนอในรูปแบบใด  ต่างมีความสำคัญต่อมนุษย์และสังคม ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม ดังนี้
               

นาฏศิลป์โขน ศิลปะการแสดงไทย
๑. เป็นสิ่งที่สร้าง ความเป็นเอกลักษณ์ และความเป็นชาติ ในอดีตประเทศที่ความเจริญรุ่งเรือง ประชากรอยู่อย่างมีความสุข จะพบว่ามีการสร้างสรรค์ศิลปะการแสดงเป็นเครื่องบันเทิง และมีการสร้างสรรค์พัฒนามาโดยตลอด และสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้เป็นสิ่งที่บอกเล่าความเป็นมา วิถีชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม ขนบประเพณี วัฒนธรรม ของชาติที่เป็นเจ้าของงานศิลปะการแสดงอย่างชัดเจน จึงสามารถรู้จักตัวตนของเจ้าของการแสดงนั้น ๆ ผ่านการแสดงได้เป็นอย่างดี


การแสดงหุ่นละครเล็ก ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม
ในการประกวดหุ่นโลก ทำให้คนไทยมีความภาคภูมิใจ
ในศิลปะของตนเอง

              ๒. สร้างความภาคภูมิใจ การแสดงชาติใดก็ตามหากมีการสร้างสรรค์อย่างประณีตงดงามได้รับการยอมรับยกย่องชื่นชมจากผู้ที่พบเห็นผู้เป็นเจ้าของงานศิลปะการแสดงนั้นมักเกิดความภาคภูมิใจในศิลปะของตนเอง เมื่อได้เรียนรู้และเข้าใจในศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองมากขึ้น ก็มักเกิดความรู้สึกรักหวงแหน เกิดแนวคิดในด้านการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ศิลปะการแสดงที่ดีงามของตนให้คงอยู่สืบไป
                ๓. เป็นพื้นฐานในการคิดสร้างสรรค์ หรือ จินตนาการ ผู้ใดก็ตามที่มีรสนิยมในการชมศิลปะการแสดง หรือรู้สึกชื่มชม เข้าไปรับรู้สัมผัสงานการแสดงบ่อยครั้ง หรือมีประสบการณ์ เมื่อเกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นคุณค่าความงาม เห็นความสำคัญ จะช่วยให้เกิดแนวคิดในการนำประสบการณ์ที่ได้รับจากสิ่งต่าง ๆ ของศิลปะการแสดงมาปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสมในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียภาพของชีวิต 



ภาพยนตร์ เรื่อง โหมโรง ที่สะท้อนความเป็นไทย
ให้แง่คิดสำหรับคนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันก็ให้ความบันเทิง
และสาระอื่น ๆ ที่ดี

                ๔. ช่วยขัดเกลาความคิด และจิตใจให้ผ่องใส อันก่อให้เกิดความสุขเมื่อสัมผัสศิลปะการแสดงสิ่งแรกที่ผู้ชมได้รับคือความสนุกสนานผ่อนคลายจากการแสดงที่ชม มีผลให้เกิดความประทับใจ คล้อยตาม เมื่อเห็นบทบาทพฤติกรรมตัวละครในเรื่องราวที่แสดงตลอดจนเหตุการณ์ การดำเนินเรื่อง ผลของเรื่องราวพฤติกรรมตัวละครตลอดจนคำพูดการกระทำตัวละครเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้มีผลต่อความคิดความรู้สึกของผู้ชม สุดท้ายจะกระตุ้นให้ผู้ชมละครเกิดกาาคิดวิเคราะห์ จากสิ่งที่พบเห็นจากละครที่ชม ผู้ชมจะเกิดการเลือกเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการคิด การเลียนแบบ และนำมาปรับใช้กับตนเองในที่สุด จึงถือได้ว่าศิลปะการแสดงมีประโยชน์และคุณค่าทั้งในแง่สุนทรียภาพ และสุนทรียรส ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคมอย่างแยกกันไม่ออกนั่นเอง 
                                                  
             ขอขอบคุณเจ้าของภาพ และวีดีโอ ที่ได้นำมาประกอบเนื้อหา เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านมีความเข้าใจมากขึ้น หากขาดภาพ และตัวอย่างคลิปวีดีโอ ที่นำมาสอดแทรกในเนื้อหา บทความคงขาดความน่าสนใจ และขาดสาระที่ดี ขอบคุณมากค่ะ 
                


             






               







                      














                 

  

3 ความคิดเห็น: